Skip to main content

บทเรียน 'แอฟริกาใต้': เพื่อโอกาสแปรเปลี่ยนความขัดแย้งในสังคมไทย

หลายคนอาจจะลืมเลือนไปว่าวันที่ 18 กรกฎาคมของทุกปีเป็น ‘วันเนลสัน แมนเดลา’ และแม้ว่างานชิ้นนี้จะล่วงเวลามานาน ทว่าเนื้อหาการสนทนายังคงเป็นประโยชน์ สมสมัย และสามารถเชื่อมโยงสู่การจัดการกับปัญหาสถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทย ทั้งต่อกระบวนการสันติภาพ และห้วงเวลาของการเข็น 'ยุทธศาสตร์ชาติ' การจัดตั้งการปรองดองของชาติ ฯลฯ โดยบทความชิ้นนี้ถอดมาจากเวทีวิชาการ “#หนทางไกลสู่สันติภาพ”: อดีตและอนาคตของแอฟริกาใต้ ในโอกาสที่สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ได้ตีพิมพ์หนังสืออัตชีวประวัติ ‘เนลสัน แมนเดลา’ [Long Walk to Freedom: Nelson Mandela] ขึ้นมา เพื่อเผยแพร่แก่ผู้อ่านชาวไทยที่สนใจเรียนรู้ประสบการณ์และบทเรียนของแอฟริกาใต้ เรื่องการสร้างสันติภาพและการสร้างความปรองดอง รวมทั้งนโยบายต่างประเทศในแง่มุมต่าง ๆ

ชาวบ้านจัดการอนาคต

ห้องเรียนกลับหัว
เรียนรู้อนาคตจากชาวบ้านตากใบ นราธิวาส

10 ปีข้างหน้าหรือปี 2570 คณะทำงานตำบลเกาะสะท้อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส โดยเฉพาะตัวแทนกลุ่มอาชีพของผู้หญิงคิดไปไกลมากกว่าการปลูกข้าวนารวมทั้งตำบล หรือการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำไปสู่การสร้างตลาดข้าวออนไลน์ค้าขายข้ามพรมแดน คิดตั้งศูนย์การค้าและตลาดการเกษตรใต้สะพานมิตรภาพไทย-มาเลเซียที่กำลังสร้างแห่งที่สาม ข้ามแม่น้ำโกลก ที่อ.ตากใบ นราธฺวาส - มาเลเซีย

คลิตี้โมเดล 2016

“จับมือเขา มองหน้าเขาไว้ด้วยจะได้ไม่เจ็บ”

เสียงปลอบโยนของนักเรียนหญิง ป.4 กุมมือด้านที่ว่างอยู่ของเพื่อนอีกคนที่กำลังถกแขนเสื้อกันหนาวให้ขึ้นไปเหนือข้อศอก และยื่นออกไปให้พยาบาลใช้สายยางรัดแขนคลำหาเส้นเลือดก่อนเจาะเข็มแหลมปลายยาว ดูดเอาเลือดออกมาตรวจหาปริมาณสารตะกั่ว

หลังจากมองหน้าเพื่อนอยู่พักหนึ่งเธอก็หลับตาปี๋ ร้องโอยเบา ๆ ก่อนเป่าลมออกจากปาก หยาดน้ำตาพริ้มไปที่หางตาเล็กน้อย รีบกระพริบตาถี่ ๆ ไล่ความเจ็บออกไปโดยเร็วไม่ให้เพื่อนเห็น มีเด็กหญิงและชายหลายสิบคนยืนต่อแถวด้านหลัง สีหน้าอมกังวลผลักไหล่หลังดันเพื่อนให้ไปต่อคิวเจาะเลือด เสียงถามภาษาพื้นถิ่นกระเหรี่ยงฟังไม่ชัดนักสลับเสียงหัวเราะ

“เจ็บไหม ๆ”
“มาลองเองดิ จะได้รู้”

หัวเราะเปลี่ยนโลก เถื่อนเพื่อการอยู่ร่วมกัน

"กอดเวลา" ละครถกแถลง เป็นเพียงหนึ่งในพื้นที่เรียนรู้ใน ‘มหาลัยเถื่อน’ ที่เปิดพื้นที่ให้เราพูดเรื่อง “ความขัดแย้งมิติต่างๆ” ผ่านวัตถุการสื่อสารหลายรูปแบบ การละคร ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ทรัพยากร ความหลากหลายของเพศสภาพ ความขัดแย้งเชิงชาติพันธุ์ที่ทำให้ เราสามารถกลายเป็น “คนอื่น” ระหว่างกันได้ แต่เป็นการพูดอย่างมีชีวิตชีวา พูดจากเลือดเนื้อ เสียงหัวเราะ เหล่านี้เป็นการศึกษาด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ทั้งหมดนี้เป็นความปิติและคุณค่าสำคัญที่ได้มาใช้ชีวิตใน “#มหาลัยเถื่อนปี3” ซึ่ง ‘กลุ่มมะขามป้อมและเครือข่าย’ ช่วยกันออกแบบพื้นที่เรียนรู้ที่ทุกคนร่วมกันแบ่งปันทั้งเรียนและสอนระหว่างกัน มีเรื่องให้ถ่ายทอดขยายการเรียนรู้ได้หลายประเด็น แต่ที่แทงใจจนจุกมากๆ คือ “การเปิดพื้นที่เรียนรู้ของผู้คนที่หลากหลายเพื่อการอยู่ร่วมกัน”

คลิตี้โมเดล 2015 (KLITY Model)

‘คลิตี้โมเดล’ เปิดพื้นที่ชุมชนใช้ข้อมูลเฝ้าระวังพิษตะกั่ว
พัฒนากลไกรัฐฟื้นฟูเยียวยาการปนเปื้อนมลพิษในสวล.

========

ใช้เวลายาวนานถึง 17 ปี และเกือบสามปีหลังศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ดำเนินการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ มาถึงจุดที่สร้างมิติใหม่การฟื้นฟูเยียวยาการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อมที่หน่วยงานรัฐเปิดพื้นที่ให้ข้อมูลของชาวบ้านเป็นส่วนหนึ่งในการติดตามเฝ้าระวังพิษตะกั่วและปรับให้แผนการฟื้นฟูแต่ละด้านสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้านชุมชนมากขึ้น กล่าวได้ว่าความสำเร็จในการพื้นฟูลำห้วยคลิตี้ในอีก 20 ปีข้างหน้าอยู่ที่ความเข้มแข็งการเฝ้าระวังระดับตะกั่วในสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของชุมชนคลิตี้ล่างนั่นเอง

4 เดือนที่แล้ว ‘สมพร เพ็งค่ำ’ นักวิจัยสมทบ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝึกและเป็นพี่เลี้ยงให้ทีมเยาวชนในหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ซึ่งเป็นคนรุ่นที่ 2-3 ของแกนนำที่ต่อสู้ให้มีการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้มาอย่างยาวนาน นำโดย ‘น้ำ’ - ‘ชลาลัย นาสวนสุวรรณ’ วันนี้ เธอสามารถอธิบายแผนที่ความเสี่ยงของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโรงแต่งแร่ปล่อยสารตะกั่วลงลำห้วยที่ชุมชนใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนานและอาจได้รับผลกระทบมากขึ้นหากการดูดตะกอนตะกั่วขึ้นมาฝังกลบตามแผนฟื้นฟูของ คพ. ไม่รอบคอบรัดกุมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวบ้านเพียงพอ 

ทำไมสตรีศึกษาน่าสนใจ (2): ผู้หญิง 'เสียงของความหวัง' ชายแดนใต้

ถูกถามบ่อยจนเป็นคำถามยอดนิยม เสียเงินเรียนปริญญาโทสตรีศึกษาจบแล้วได้อะไร ไปทำอาชีพอะไรได้บ้าง? จะตอบก็เกรงกำปั้นทุบดินเกินไป แต่อยากบอกไปอีกทางหนึ่งว่า ความแปลกของ 'สตรีศึกษา' คือระหว่างทางที่เรียนรู้ เราจะถูกฝึกให้คิด ฟัง ได้ยิน รวมทั้งสัมผัสกับมิติใหม่ของ 'มุมมองที่หายไป' และความรู้ใหม่นี้จะติดเนื้อติดตัวสามารถไปต่อยอดกับแนวคิดอื่นๆ ได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าตอนนี้คุณทำการทำงานอะไรอยู่ เมื่อเปลี่ยน "แว่น" มองโลกด้วยมุมใหม่ แล้วคุณจะรู้ว่าความรู้เปลี่ยนโลกและสังคมได้เป็นอย่างไร

ทำไมสตรีศึกษาน่าสนใจ (1): ผู้หญิง ความรัก และจักรยาน

ขอชวนแบบรวบรัดตัดความหากคุณมีโอกาสได้สัมผัสกับมุมมองหรือโลกของ 'สตรีศึกษา' การมองโลกจะเปลี่ยนไปอย่างน่าสนใจ ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัวและมันอยู่ในชีวิตประจำวันฉันขณะนี้ มีชายหนุ่มพยายามโน้มน้าวให้ปั่นจักรยานเพื่อจะได้มีพื้นที่ชีวิตที่สอดคล้องกันบ้าง โลกและมุมมองของผู้ชายจำนวนมากอาจจะคิดคล้ายๆกับอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ คือ "ชีวิตก็เหมือนการปั่นจักรยาน เราต้องเคลื่อนไปข้างหน้าตลอดเวลาเพื่อรักษาสมดุล" และการปั่นจักรยานของเขาก็จะเกาะเกี่ยวกับชีวิตและพื้นที่สาธารณะที่เขาสังคมอยู่ แม้ว่าจักรยานอาจจะตอบโจทย์เรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญก็จริง ทว่า 'สตรีศึกษา' กลับทำให้ฉันไม่รีบกระโจนไปอยู่ในเหตุผลของโลกกระแสหลักไปในทันที หันมาสำรวจโลกของจักรยานในแง่มุมที่เข้ากับตัวเอง อย่างน้อยก็กลับไปสำรวจว่าผู้หญิงมีเหตุผลอะไรบ้างในการปั่นจักรยาน และเหตุผลของเราคืออะไร?

The Lunch Box “คิดถึงโภชนา”:"บางครั้งเมื่อขึ้นรถไฟผิดสาย แต่อาจจะลงถูกสถานีก็ได้"

อาหารนั้นสามารถสื่อสารกับผู้คนผ่านกลิ่น รสชาติ และรสสัมผัสต่างๆ ทั้งยังเป็นพื้นที่ความทรงจำของชุมชน ผู้คน เป็นประวัติศาสตร์บอกเล่าและตำรับตำรา เคล็ดลับการทำอาหารส่งต่อความรู้ของผู้หญิงรุ่นต่อรุ่นให้ความร่อยของอาหารติดลิ้นและรัญจวนใจอย่างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวเธอ ทว่าอาหารในหนังเรื่องนี้กลับทำหน้าที่ในการปลดปล่อย 'อิลา' หญิงสาวผู้ถูกสามีหมางเมินและพยายามที่จะเรียกร้องความสนใจด้วยการทำอาหารใส่ปิ่นโตเพื่อเอาใจสามี กับ 'เฟอร์นานเดส' นักบัญชีที่ใช้ชีวิตอย่างเดียวดายและไม่ใส่ใจใครหลังจากที่ภรรยาของเขาเสียชีวิต

ติดตามภาระค่าใช้จ่าย รพ.ชายแดน วาระประเทศไทย

ติดตามรายงานหนี้สินของโรงพยาบาลตามแนวชาย แดนฝั่งตะวันตก ที่ภาระกิจ และมนุษยธรรมการรักษาพยาบาลให้แก่บุคคลไร้ สิทธิ์หลักประกันสุขภาพ กลายเป็นเส้นขนาน