บทเรียน 'แอฟริกาใต้': เพื่อโอกาสแปรเปลี่ยนความขัดแย้งในสังคมไทย
ชาวบ้านจัดการอนาคต
ห้องเรียนกลับหัว
เรียนรู้อนาคตจากชาวบ้านตากใบ นราธิวาส
10 ปีข้างหน้าหรือปี 2570 คณะทำงานตำบลเกาะสะท้อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส โดยเฉพาะตัวแทนกลุ่มอาชีพของผู้หญิงคิดไปไกลมากกว่าการปลูกข้าวนารวมทั้งตำบล หรือการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำไปสู่การสร้างตลาดข้าวออนไลน์ค้าขายข้ามพรมแดน คิดตั้งศูนย์การค้าและตลาดการเกษตรใต้สะพานมิตรภาพไทย-มาเลเซียที่กำลังสร้างแห่งที่สาม ข้ามแม่น้ำโกลก ที่อ.ตากใบ นราธฺวาส - มาเลเซีย
คลิตี้โมเดล 2016
“จับมือเขา มองหน้าเขาไว้ด้วยจะได้ไม่เจ็บ”
เสียงปลอบโยนของนักเรียนหญิง ป.4 กุมมือด้านที่ว่างอยู่ของเพื่อนอีกคนที่กำลังถกแขนเสื้อกันหนาวให้ขึ้นไปเหนือข้อศอก และยื่นออกไปให้พยาบาลใช้สายยางรัดแขนคลำหาเส้นเลือดก่อนเจาะเข็มแหลมปลายยาว ดูดเอาเลือดออกมาตรวจหาปริมาณสารตะกั่ว
หลังจากมองหน้าเพื่อนอยู่พักหนึ่งเธอก็หลับตาปี๋ ร้องโอยเบา ๆ ก่อนเป่าลมออกจากปาก หยาดน้ำตาพริ้มไปที่หางตาเล็กน้อย รีบกระพริบตาถี่ ๆ ไล่ความเจ็บออกไปโดยเร็วไม่ให้เพื่อนเห็น มีเด็กหญิงและชายหลายสิบคนยืนต่อแถวด้านหลัง สีหน้าอมกังวลผลักไหล่หลังดันเพื่อนให้ไปต่อคิวเจาะเลือด เสียงถามภาษาพื้นถิ่นกระเหรี่ยงฟังไม่ชัดนักสลับเสียงหัวเราะ
“เจ็บไหม ๆ”
“มาลองเองดิ จะได้รู้”
หัวเราะเปลี่ยนโลก เถื่อนเพื่อการอยู่ร่วมกัน
คลิตี้โมเดล 2015 (KLITY Model)
‘คลิตี้โมเดล’ เปิดพื้นที่ชุมชนใช้ข้อมูลเฝ้าระวังพิษตะกั่ว
พัฒนากลไกรัฐฟื้นฟูเยียวยาการปนเปื้อนมลพิษในสวล.
========
ใช้เวลายาวนานถึง 17 ปี และเกือบสามปีหลังศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ดำเนินการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้ มาถึงจุดที่สร้างมิติใหม่การฟื้นฟูเยียวยาการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อมที่หน่วยงานรัฐเปิดพื้นที่ให้ข้อมูลของชาวบ้านเป็นส่วนหนึ่งในการติดตามเฝ้าระวังพิษตะกั่วและปรับให้แผนการฟื้นฟูแต่ละด้านสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้านชุมชนมากขึ้น กล่าวได้ว่าความสำเร็จในการพื้นฟูลำห้วยคลิตี้ในอีก 20 ปีข้างหน้าอยู่ที่ความเข้มแข็งการเฝ้าระวังระดับตะกั่วในสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของชุมชนคลิตี้ล่างนั่นเอง
4 เดือนที่แล้ว ‘สมพร เพ็งค่ำ’ นักวิจัยสมทบ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝึกและเป็นพี่เลี้ยงให้ทีมเยาวชนในหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ซึ่งเป็นคนรุ่นที่ 2-3 ของแกนนำที่ต่อสู้ให้มีการฟื้นฟูลำห้วยคลิตี้มาอย่างยาวนาน นำโดย ‘น้ำ’ - ‘ชลาลัย นาสวนสุวรรณ’ วันนี้ เธอสามารถอธิบายแผนที่ความเสี่ยงของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโรงแต่งแร่ปล่อยสารตะกั่วลงลำห้วยที่ชุมชนใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนานและอาจได้รับผลกระทบมากขึ้นหากการดูดตะกอนตะกั่วขึ้นมาฝังกลบตามแผนฟื้นฟูของ คพ. ไม่รอบคอบรัดกุมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตชาวบ้านเพียงพอ
ทำไมสตรีศึกษาน่าสนใจ (2): ผู้หญิง 'เสียงของความหวัง' ชายแดนใต้
ทำไมสตรีศึกษาน่าสนใจ (1): ผู้หญิง ความรัก และจักรยาน
เล่าเรื่อง: 'สื่อใหม่' เปิดพื้นที่การเมืองและข้อเสนอต้องห้าม 'นครปาตานี'
ติดตามภาระค่าใช้จ่าย รพ.ชายแดน วาระประเทศไทย
ติดตามรายงานหนี้สินของโรงพยาบาลตามแนวชาย แดนฝั่งตะวันตก ที่ภาระกิจ และมนุษยธรรมการรักษาพยาบาลให้แก่บุคคลไร้ สิทธิ์หลักประกันสุขภาพ กลายเป็นเส้นขนาน
ทุจริตโครงการไทยเข้มแข็ง จุดเริ่มต้นเตรียมการกินรวบระยะยาว
หลังการเปิดเผยผลการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีทุจริตโครงการไทยเข้มแข็งในกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มูลค่ากว่า 86,000 ล้านบาทก่อนสิ้นปี 2552 ทำให้รัฐมนตรี 2 คนลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบทางการเมือง ตามทีมที่ปรึกษาและเลขานุการรัฐมนตรีที่ลาออกไปก่อนหน้านี้ เมื่อปรากฏข่าวการเปิดโปงการทุจริตโดยชมรมแพทย์ชนบทผ่านสื่อมวลชนตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 เป็นต้นมา กล่าวกันว่าเป็นการเตรียมการทุจริตที่ไม่ได้ใยดีต่อประวัติศาสตร์และบทเรียนจาก ‘การทุจริตจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ งบฯ 1,400 ล้านบาท’ เมื่อปี 2541 ที่ชมรมแพทย์ชนบท เภสัชชนบท และเครือข่ายต่อต้านการทุจริตภาคประชาชนออกมาเคลื่อนไหว มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนอ
เปิดปมงาบงบใครเข้มแข็งกระทรวงสาธารณสุข: (จบ) ว่าด้วย 4 นักการเมือง 8 ข้าราชการ ใครเข้มแข็งกว่ากัน
จากการสอบสวนโดยคณะกรรมการชุดนพ.บรรลุ ศิริพานิช ระบุชัดแจ้งว่ามีผู้ต้องรับผิดต่อกรณีการเตรียมการทุจริตนี้ เพื่อให้ทางรัฐบาลได้ดำเนินการต่อไป ดังนี้
ก. ฝ่ายราชการการเมือง ได้แก่
(1) นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสั่งการเรื่องสิ่งก่อสร้างต่างๆ โดยเฉพาะในจังหวัดราชบุรี รวมทั้งเครื่องพ่นฆ่ายุง และรถพยาบาล
(2) นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู อดีตเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งเรื่องการสั่งการเกี่ยวกับโครงการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งโดยรวม และเรื่องรถพยาบาล
เปิดปมงาบงบใครเข้มแข็งในกระทรวงสาธารณสุข: (5)เหตุเกิดที่กรมการแพทย์
กรมการแพทย์เป็นอีกหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณมากรองจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นสิ่งก่อสร้าง 4,884,912,900 บาท ครุภัณฑ์การแพทย์ 2,646,780,000 บาท รวมทั้งสิ้น 7,531,692,900 บาท ซึ่งมีลักษณะการเอื้อการทุจริตในลักษณะเดียวกับสำนักปลัดกระทรวง
ในส่วนของสิ่งก่อสร้าง พบว่าอาคารลักษณะคล้ายคลึงกันในสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีราคาต่อตารางเมตรอยู่ระหว่าง 14,000 – 24,000 บาท แต่ราคาอาคารอื่นของกรมการแพทย์ที่กำหนดไว้ค่อนข้างแพง โดยเฉพาะที่มีราคาเกินกว่า 24,000 บาท/ตารางเมตร ซึ่งต้องสงสัยว่า เป็นการจงใจกำหนดราคากลางที่สูงเกินจริง ...
เปิดปมงาบงบใครเข้มแข็งในกระทรวงสาธารณสุข: (4)การเมืองล้วงลูกก่อสร้าง อ้าง ‘น้ำขึ้นให้รีบตัก’
การเตรียมการทุจริตในโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข นอกจากความพยายามทุจริตจัดซื้อเครื่องมือแพทย์หลายรายการในวงเงินงบประมาณมหาศาล การลงทุนในสิ่งก่อสร้างต่างๆ ด้วยวงเงินมากถึง 31,566 ล้านบาท ที่ไม่ส่งเสริมความเข้มแข็งของประเทศในอนาคต เนื่องจากขาดยุทธศาสตร์ และการจัดลำดับความสำคัญที่ชัดเจน งบประมาณยังกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ มากกว่าที่จะกระจายออกไปในระดับทุติยภูมิและปฐมภูมิที่ขาดแคลนมากกว่า จึงไม่ส่งเสริมให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซ้ำร้ายยังมี ‘นักการเมือง’ เข้ามาล้วงลูก และยุยงข้าราชการให้พัวพันไปด้วยว่า “น้ำขึ้นให้รีบตัก”
เปิดปมงาบงบใครเข้มแข็งในกระทรวงสาธารณสุข: (3)โกงครุภัณฑ์สูญงบเข้ากระเป๋า 720 ล้านบาท
ด้วยกลเม็ดการเตรียมการทุจริต ทั้งการฮั้ว การล็อคสเปค การเพิ่มราคางบประมาณที่จัดสรรต่อหน่วยครุภัณฑ์ การจัดสรรให้โดยเกินความจำเป็น การจัดสรรให้โดยไม่ได้ต้องการไม่ได้ร้องขอ การดำเนินการที่ไม่ถูกต้อง ไม่คุ้มค่า ไม่เหมาะสมและไม่สุจริต เปิดช่องทางให้มีการแสวงหาผลประโยชน์ในลักษณะต่างๆ เหล่านี้ เปิดทางแก่การทุจริตคอรัปชั่น ทางคณะกรรมการชุดนพ.บรรลุ ศิริพานิช ได้ประมาณมูลค่าความเสียหายจากการทุจริตงบประมาณแผ่นดินโดยประมาณ เฉพาะส่วนของครุภัณฑ์ รวมมูลค่างบประมาณที่สูงเกินสมควร (719.98) ล้านบาท และควรป้องกันการสูญเสียในอนาคตได้อีก 645–1,308 ล้านบาท ดังนี้
เปิดปมงาบงบใครเข้มแข็งในกระทรวงสาธารณสุข: (2)กินรถพยาบาล 800 คัน จะได้ 80 ล้าน ลูกศรชี้ที่ฝ่ายการเมือง
ข่าวการฮั้วรถพยาบาลในงบไทยเข้มแข็งจำนวน 800 คันที่มีการจัดสรรให้กับโรงพยาบาลชุมชนทุกแห่งๆ ละ 1 คันนั้น ได้เริ่มปรากฏต่อสาธารณะตั้งแต่วันพุธที่ 30 กันยายน 2552 หนังสือพิมพ์หลายฉบับได้พาดหัวข่าวประมาณว่า “แพทย์ชนบทปูดทุจริตรถพยาบาลมีข้อมูลว่ามีฝ่ายการเมืองไปเจรจากับบริษัทเอกชนที่เซ็นทรัล ลาดพร้าว เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2552 ถึงขั้นเสนอราคาให้คันละ 100,000 บาท ทำให้ราคาจัดซื้อรถพยาบาล 1 คันที่มีอุปกรณ์การแพทย์สำคัญ 2 รายการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ เครื่องช่วยหายใจและเครื่องกระตุกหัวใจที่เคยซื้อได้ 1.7 ล้านบาท เพิ่มเป็น 1.8 ล้านบาท”
เปิดปมงาบงบใครเข้มแข็งในกระทรวงสาธารณสุข: (1)ใครคือไอ้โม่งทุจริต UV fan?
หมายเหตุ: 'เปิดปมงาบงบใครเข้มแข็งในกระทรวงสาธารณสุข' เป็นรายงานขนาดยาว ที่ฝ่ายวิชาการ ชมรมแพทย์ชนบท เตรยมตีพิมพ์ในวารสารโรงพยาบาชุมชน โดยรวบรวมและประมวลข้อเท็จจริงจากฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะรายงานการสอบสวนของคณะกรรมสอบสวนข้อเท็จจริง ของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 227/2552 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2552 (ที่มีนพ.บรรลุ ศิริพานิช เป็นประธาน)และมีการแถลงต่อสาธารณะไปแล้ว มาประมวลใหม่อีกครั้ง เพื่อให้เห้นถึงกลไกในกระบวนการเตรียมทุจริตงบไทยเข้มแข็งก้อนโต