Skip to main content
จากเหตุการณ์นักศึกษาพม่าบุกจับตัวประกันในสถานทูตพม่าในกรุงเทพฯ นักรบชายแดนก็อดอาร์มี่บุกยึดโรงพยาบาลศูนย์ราชบุรี สื่อมวลชนไทยทุกแขนงถูกตั้งคำถามและถูกวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ของการปฏิบัติหน้าที่อย่างหนักหน่วงทั้งในระดับชาติและสากล และล่าสุดสถานการณ์ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งทุกภาคส่วนถูกท้าทาย และถูกตั้งคำถามจาก "ความไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น" ในสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ดังกล่าว แน่นนอนวงการสื่อมวลชนต้องตกเป็น "จำเลย" สำคัญอีกครั้ง ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มอุณหภูมิของความรุนแรงที่เกิดขึ้นด้วย ทั้งเหตุและผลจาก "ความไม่รู้" จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการทบทวน วิพากษ์บทบาทหน้าที่และการทำข่าวของสื่อมวลชน เพื่อถอดประสบการณ์ออกมาสร้างองค์ความรู้ใหม่ อันนำไปสู่พลังขับเคลื่อนและการแก้ปัญหาของสังคมได้อย่างเข้มข้น ที่ไม่เพิกเฉยต่อความมั่นคงแห่งชาติ และให้ความสำคัญต่อความมั่นคงแห่งมนุษย์เป็นที่ตั้ง

ด้วยเหตุนี้ สมาคนนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เห็นสมควรจะต้องมีคู่มือรายงานข่าวความมั่นคงขึ้น และเพื่อให้เกิดขึ้นได้จริงนั้นจักต้องใช้การผสานองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่าย ทั้งนี้จึงมีโครงการสื่อสันติภาพ : คู่มือรายงานข่าวความมั่นคง โดยใช้สถานการณ์ปัจจุบันที่ไม่คลี่คลาย คือ สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เป็นพื้นที่ในการศึกษาและสร้างคู่มือรายงานข่าวความมั่นคงขึ้น ซึ่งใกล้จะแล้วเสร็จเร็วๆ นี้
วัตถุประสงค์ ก็เพื่อ....

1.สร้างคู่มือข่าวความมั่นคง เพื่อให้สื่อระมัดระวังกับสถานการณ์อ่อนไหว ที่ทับซ้อนระหว่างความั่นคงแห่งชาติและความมั่นคงแห่งมนุษย์ เพื่อนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

2.สร้างคนทำงานด้านสื่อเพื่อสันติภาพและความมั่นคง ที่มีศักยภาพในการทำงาน และเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนแนวทางสันติวิธีในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และทั่วประเทศ

3.เปิดมุมมองใหม่ให้กับคนทำงานสื่อมวลชน เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการปฏิรูปสื่อในสังคมไทย

4.สร้างเครือข่าย รวบรวมและประสานจัดการมุมอง คนและระบบอื่นๆให้กับคนและระบบสื่อ เพื่อก้าวข้ามทัศนะ มุมมองในการสื่อสารแบบเดิม

5.สร้างกระบวนการในการทบทวนสถานการณ์ องค์ความรู้เดิม และสร้างความรู้ชุดใหม่ๆ อันเกิดจากการให้ความสำคัญกับเสียง ประสบการณ์ การเคลื่อนไหว วิถีชีวิตและการแสดงออกของคนทำงานสื่อ คนในพื้นที่ และคนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความรุนแรงและความขัดแย้งนี้

ขณะนี้ อยู่ระหว่างให้นักวิชาการช่วยกันสังเคราะห์ข้อมูลและขึ้นร่างเป็น "คู่มือ" ตามที่คณะทำงานฯ ของโครงการไปรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ เช่น ภาครัฐ นักข่าวในพื้นที่ชายแดน และฝ่ายผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับความมั่นคงทั้งทหาร และตำรวจ

ใกล้จะคอลดแล้ว โปรดติดตามเร็ว ๆ นี้

บันทึกการประชุมการสำรวจสถานการณ์การรายงานข่าวความมั่นคงจากภาครัฐ
บทสรุป"การสำรวจสถานการณ์การรายงานข่าวความมั่นคงจากภาครัฐ
ถกคู่มือข่าวความมั่นคง ผ่าทางตันสื่อสันติภาพชายแดนใต้