Skip to main content
คอลัมน์ สดจากพื้นที่
โดย ธนก บังผล

เสียงโทรศัพท์ที่ดังระงมไม่ขาดสาย แป้นพิมพ์ถูกนิ้วทั้งสิบรัวเคาะไม่เป็นจังหวะ นักข่าวหลายชีวิตก้มหน้าอยู่กับคอมพิวเตอร์และกระดาษจดข่าวต่างก้มหน้าก้มตา ห้องเล็กๆ ที่ถูกแปลงมาเป็นศูนย์ข่าวอิศราแห่งนี้ ไม่เคยหลับ

3 สัปดาห์มาแล้วที่นักข่าวจากส่วนกลางหลายสำนัก เดินทางลงมาทำงานร่วมกับนักข่าวในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นับรวมแล้วกว่าสิบชีวิต เป้าหมายของโต๊ะข่าวสื่อสันติภาพคือ การพยายามเปิดพื้นที่ข่าววิถีชีวิตและวัฒนธรรมให้มากขึ้นกว่าเดิม
สื่อมวลชนกลุ่มนี้กำลังพยายามนำเสนอภาพอีกด้านหนึ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่คนอีก 73 จังหวัดไม่เคยรับรู้ อย่างเช่น การอยู่ร่วมกันโดยสันติของคนไทยที่นับถือศาสนาต่างๆ ในชุมชนพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนการติดตามความช่วยเหลือของภาครัฐที่ มีให้กับผู้สูญเสียในเหตุการณ์รุนแรง หรือตามไปดูชีวิตที่เปลี่ยนไปภายหลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ หรือแม้แต่แง่มุมที่คนนอกพื้นที่ไม่เคยเข้าใจ เช่น วัฒนธรรม การศึกษา และสตรีมุสลิม

มีคนถามว่า ไม่กลัวหรือที่ลงมาอยู่ที่นี่ นักข่าวจากกรุงเทพฯไม่ตอบ แต่ยิ้มให้ด้วยใจจริง

ปัญหาในการใช้ชีวิตต่างถิ่นไม่น่าหนักใจเท่ากับการเรียนรู้วัฒนธรรมอิสลาม การสื่อสารด้วยภาษาที่ว่ายากต่อการเข้าใจแล้ว ก็ยังไม่ยากเท่ากับการเอาใจใส่ต่อความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน ของพี่น้องชาวมุสลิม

โชคดีที่กองบรรณาธิการเล็กๆ แห่งนี้ได้รับความกรุณาจากนักข่าวในพื้นที่อย่าง "สมิหลาไทม์", "โฟกัสภาคใต้" และนักข่าวภูมิภาคระดับกิตติมศักดิ์อย่าง "พี่อายุป" มูฮัมมัดอายุป ปาทาน จากหนังสือพิมพ์มติชน คอยให้คำแนะนำช่วยเหลืออย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

ทำให้พวกเราที่มาจาก โพสต์ทูเดย์ กรุงเทพธุรกิจ บางกอกโพสต์ มติชน ประชาชาติธุรกิจ แนวหน้า และผู้จัดการ ปรับตัวให้เข้ากับวิถีวัฒนธรรมได้อย่างรวดเร็ว

สภาพ ของบ้านที่ใหญ่กว่าแมวดิ้นตายสามคืบ มีชั้นล่างเป็นกองบรรณาธิการ อาศัยคอมพิวเตอร์ 5 เครื่องส่ง ที่ทยอยป้อนข้อมูลข่าวสารขึ้นเว็บไซต์ www.tjanews.org ของสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย เพื่อให้เพื่อนพ้องสื่อมวลชนยักษ์ใหญ่จากส่วนกลางหลายสำนักได้นำไปใช้ตามสะด วก

รวมไปถึงสภาพภูมิประเทศที่ไม่คุ้นเคย บางวันฝนตก บางวันแดดจ้า บางวันตอนเช้าร้อนจนเหงื่อโทรม บ่ายฝนโหมกระหน่ำ ตกเย็นกลับมาร้อน ไม่แน่นอนสลับกันไป

แม้ว่าสรรพสิ่งรอบตัวจะไม่แ น่นอน แต่เวลาเพียงไม่กี่วันที่เดินทางมาถึง อากาศที่ร้อนจัด ฝนที่ตกหนัก ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตนักข่าวกลุ่มนี้ไปแล้ว

ด้วยสายตาที่ เคยมองพื้นที่สีแดงด้วยความระแวดระวัง ก็กลับกลายเป็นสายตาที่เป็นมิตร โรตี มะตาบะ ที่ไม่เคยคิดว่าจะกินได้บ่อย เริ่มอร่อยขึ้นทุกวัน ชาวบ้านที่เคยมองผู้สื่อข่าวด้วยความระแวง ก็เริ่มคุ้นเคยและมีรอยยิ้มให้กันบ่อยขึ้น

รายงานเรื่อง "ท้อแท้และท้อถอย ก้าวที่ยังมืดมนของเหยื่อตากใบ" ของ "พี่ภาส" ภาสกร จำลองราช จากหนังสือพิมพ์มติชน เป็นรายงาน ชิ้นแรกที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ของศูนย์อิศรา

"ธุรกิจลองกองข้ างถนน ผลไม้แห่งสันติภาพ" ได้มาจากการเข้าไปคลุกอยู่กับพ่อค้าแม่ค้าที่มาซื้อขายลองกองกลางลมแดดที่สี ่แยกมลายูบางกอก, "ประจานรอบศาลากลางยะลา เยียวยาชำรุด" เรื่องจริงในพื้นที่จังหวัดยะลาเกี่ยวกับร้านอาหารที่ได้รับผลกระทบหลังจากโ ดนระเบิด, "ลุยเส้นทางเรือใบ" ประสบการณ์ครั้งแรกของนักข่าวส่วนกลางที่เข้าไปดูพื้นที่

"ศูนย ์กลางอาหารฮาลาล ฝันกลางไฟใต้" ซีรีส์ 3 ตอนจบ ที่เกิดขึ้นจากการตั้งประเด็นสงสัยจากคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่เคยให้สัญญากับประชาชนในจังหวัดปัตตานีไว้เมื่อ 3 ปีก่อน "โดดเดี่ยวท่ามกลางความอบอุ่น เรื่องเล่าจากหมู่บ้าน เจาะกลาดี" เกิดขึ้นจากการพูดคุยกับนักข่าวในพื้นที่ว่ามีคนไทยพุทธเพียงคนเดียวอยู่ในช ุมชนมุสลิมมาหลายสิบปีแล้ว "อานาเซด อะเนาะยาติม บทเพลงจากเด็กกำพร้า" รายงานที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการเข้าไปเยี่ยมเยียนศูนย์เด็กหญิงกำพร้า ฯลฯ

ข่าาวการยิงโต๊ะอิหม่ามที่บ้านสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส และความเคลื่อนไหวของ 131 คนไทยหนีเข้ามาเลเซีย ทำให้ศูนย์ข่าวอิศราได้พิสูจน์บทบาทในการเป็นผู้นำเสนอข่าวจากพื้นที่อย่างแ ท้จริง

นอกจากนี้ยังมีประเด็นข่าวและสกู๊ปที่ยังค้างอยู่บนกระดาน ที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ เศรษฐกิจในหลักศาสนาอิสลาม, สหกรณ์อิสลามปัตตานี, หมอที่เรียนจบจากต่างประเทศ, โอกาสทางธุรกิจในภาวะความไม่สงบ, ชีวิตผู้หญิงมุสลิมคัดปลา, ถนนสายกลางเมืองยะลา, สภาพการไปทำงานมาเลเซีย, ปอเนาะดั้งเดิม ฯลฯ เป็นต้น

ส่วนบรรยากาศในการทำงานทุกเช้า หน้าจอคอมพิวเตอร์จะถูกจับจองเช็กข่าวสาร วางแผนการเดินทาง ทุกคนต่างหาประเด็นที่คมที่สุดเพื่อนำเสนอบนกระดาน

เมื่อจัดสรร ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดจำเขี่ยได้ลงตัวดีแล้ว พิราบแห่งสันติภาพต่างโบยบินสยายปีกเข้าพื้นที่ กว่าจะกลับรังบางวันก็มืดค่ำ แม้จะซมซานจากการเดินทาง แต่สดใสและเต็มอิ่มในความรู้สึกดีๆ

"ถ้าวันนี้เราไม่ทำอะไรเลย อีก 20 ปีข้างหน้า ในฐานะสื่อมวลชน เราจะตอบตัวเองอย่างไรกับสถานการณ์ความไม่สงบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้" พี่ดิษฐ์-ประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ผู้จัดการโครงการสื่อสันติภาพ โต๊ะข่าวภาคใต้ เคยทิ้งคำคมไว้บนโต๊ะประชุมข่าวครั้งหนึ่งไว้ให้ทางกองบรรณาธิการได้คิด

เช่นเดียวกับคำถามที่ว่า ไม่กลัวหรือที่มาอยู่ที่นี่ คำพูดของพี่ดิษฐ์ในวันนั้น พวกเราทุกคนได้แต่ยิ้ม

เ พราะทุกคนเชื่ออยู่เสมอว่า เรากำลังจะเปลี่ยนแปลงความคิดของคนทั้งประเทศครั้งใหญ่ที่ต้องอาศัยความเข้า ใจในองค์ความรู้อย่างแท้จริง และต้องใช้เวลามากพอสมควร

ได้ข่าวจากคนกรุงเทพฯว่า ฝนตกหนักมาทั้งวันทั้งคืนแล้ว

จากาเคสิ ฮะห์ตัน...รักษาสุขภาพ

หน้า 9 ประชาชาติธุรกิจ 19 ก.ย. 48