Skip to main content
"ที่เชื่อหมอมาก เพราะเราเองมองลูกเรา ก็ว่าลูกปกติ เพราะเขาจะยิ้ม เล่นอะไรไปตามเรื่องของเขา มองหน้ามองตาเรา ก็เหมือนลุกสองคนตอนเล็กๆ เราไม่เห็นความแตกต่าง เขาจะมอง เขาจะเล่น"

เธอทอดสายตาอาทรมาที่ลูกสาวคนเล็ก ทำให้พวกเราอดมองตามไม่ได้ "กว่าจะมารู้ว่าลูกไม่ปกติสักสามขวบ เขาจะเรียก.. แม่" แม่ อยู่อย่างนั้น น้องเขาจะไม่พูดคำอื่น ก็เริ่มเอะใจบ้าง เริ่มรู้แล้วว่าเขาจะไม่เหมือนเด็กทั่วไป ตอนนั้นก็ไม่ได้ปรึกษาใคร เพราะว่าไม่เคยรู้ว่าจะมีเด็กที่ "ไม่ปกติแบบนี้ คือ ไม่เคยรู้ว่า "ข้างนอก" เขามี "เด็กพิเศษ" เด็กไม่ปกติแบบนี้อยู่ด้วย ก็ได้แต่เลี้ยงดูตามปกติ เคยถามญาติพี่น้อง ให้ช่วยกันดู ช่วยกันมองน้อง เขาก็ว่าน้องปกติ ไม่ได้เป็นอะไร ก็คิดว่าตอนที่หมอบอกตอนคลอดว่าน้องไม่ปกติ ก็คิดว่าคงเป็นช่วงเด็กๆ ที่น้องเขาเกิดมาแล้วตัวเขียว พ้นจากตรงนั้น" แล้วคงไม่เป็นอะไรแล้ว
ในรอบหลายสิบปีนี้ จากความพยายามจากหลายภาคส่วนสังคม รวมทั้งวิชาการสมัยใหม่ เรียกร้องให้รัฐมีนโยบายสาธารณะและสวัสดิการสำหรับ "คนพิการ" อย่างครอบคลุม บนฐานคิด "สิทธิความเป็นคนที่เท่าเทียมกัน" ทำให้ความหมายของคนพิการถูกระบุลักษณะอย่างเด่นชัด คือ คนที่มีความผิดปกติหรือบกพร่องทางร่างกาย ทางสติปัญญา หรือทางจิตใจ ตามประเภทที่กฎหมายกำหนด ไว้ 5 ประเภท ได้แก่ คนพิการทางการมองเห็น คนพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย คนพิการทางกายหรือการเคลื่อนไหว คนพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรม และคนพิการทางสติปัญญาหรือการเรียนรู้ แง่นี้ อย่างรู้เท่าทันหรือไม่ก็ตาม ทั้งความหมายและการจัดแบ่งประเภทของคนพิการ กลายเป็นเส้นแบ่งที่แข็งแกร่ง ระหว่าง ?คนปกติ และไม่ใช่คนปกติ และเมื่อไม่ใช่คนปกติจึงถูกเลือกปฏิบัติที่ต่างจากคนทั่วไป เช่น ต้องไปขึ้นทะเบียน ต้องเข้ารับการฝึกปฏิบัติทางสังคมและการสื่อความหมายให้ใกล้เคียงกับ ?คนปกติ? พูดให้ง่าย เมื่อคุณอยู่ในสภาวะที่ด้อยกว่าก็จำต้องเขย่งให้เท่ากับคนที่สูงกว่า

จึงอยากให้คุณรู้จัก น้องข้าวโพด "เด็กพิเศษ" ของแม่