Skip to main content

เรื่องเล่าเป็นการเปิดพื้นที่เพื่อสร้าง ?อัตลักษณ์? ให้กับคนชายขอบ โดยที่เราต้องฟังและอ่าน ?เรื่องเล่า? นั้นอย่างเข้าใจว่าคนชายขอบนั้นกำลังต่อรองกับอำนาจประวัติศาสตร์กระแสหลัก (History) อย่างไรบ้าง


ประวัติศาสตร์ (History) ถูกยกให้เป็น ?ศาสตร์? (scientific discourse) ประวัติศาสตร์ถูกบอกว่าเป็นความจริงเพราะมีระบบระเบียบการ ?เล่าเรื่อง? อย่างมีเหตุผล มีหลักฐานอ้างอิง และความเป็นศาสตร์นี้ได้สร้างอำนาจให้แก่นักประวัติศาสตร์ในการผูกขาดพูดถึงอดีตไว้คนเดียว รวมทั้งกุมอำนาจวาทกรรมในอดีตไว้ ซึ่งผู้เขียนประวัติศาสตร์มักผลิตเรื่องเล่าของ ?คน? ในอำนาจศูนย์กลาง เช่น เรื่องการต่อสู้ของผู้นำ ผู้ปกครอง มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบจิตสำนึกของชุมชนนั้นไว้ที่ศูนย์กลาง และผูกขาดอำนาจดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน โดยละเลยประสบการณ์และเสียงของคนเล็กคนน้อยที่มีอยู่แต่ถูกทำให้ไม่เห็นกลายเป็น ?คนอื่น? หรือ ?คนชายขอบ? ไป ทั้งๆ ที่คนเหล่านี้เล่าเรื่องของตนเองอยู่ตลอดเวลาแต่คนในสังคมไม่ได้ยิน
เรื่องเล่าเป็นการเปิดพื้นที่เพื่อสร้าง ?อัตลักษณ์? ให้กับคนชายขอบ โดยที่เราต้องฟังและอ่าน ?เรื่องเล่า? นั้นอย่างเข้าใจว่าคนชายขอบนั้นกำลังต่อรองกับอำนาจประวัติศาสตร์กระแสหลัก (History) อย่างไรบ้าง


ประวัติศาสตร์ (History) ถูกยกให้เป็น ?ศาสตร์? (scientific discourse) ประวัติศาสตร์ถูกบอกว่าเป็นความจริงเพราะมีระบบระเบียบการ ?เล่าเรื่อง? อย่างมีเหตุผล มีหลักฐานอ้างอิง และความเป็นศาสตร์นี้ได้สร้างอำนาจให้แก่นักประวัติศาสตร์ในการผูกขาดพูดถึงอดีตไว้คนเดียว รวมทั้งกุมอำนาจวาทกรรมในอดีตไว้ ซึ่งผู้เขียนประวัติศาสตร์มักผลิตเรื่องเล่าของ ?คน? ในอำนาจศูนย์กลาง เช่น เรื่องการต่อสู้ของผู้นำ ผู้ปกครอง มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบจิตสำนึกของชุมชนนั้นไว้ที่ศูนย์กลาง และผูกขาดอำนาจดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน โดยละเลยประสบการณ์และเสียงของคนเล็กคนน้อยที่มีอยู่แต่ถูกทำให้ไม่เห็นกลายเป็น ?คนอื่น? หรือ ?คนชายขอบ? ไป ทั้งๆ ที่คนเหล่านี้เล่าเรื่องของตนเองอยู่ตลอดเวลาแต่คนในสังคมไม่ได้ยิน


ฉะนั้น ?เรื่องเล่า? จึงจำเป็นต้องมี พร้อมกันนั้นต้องฟังและอ่าน ?เรื่องเล่า? ของคนชายขอบอย่างเข้าใจ เพราะถ้าคนชายขอบไม่เล่า หรือไม่มีคนเล่า คนชายขอบเหล่านี้ก็จะถูกทำให้ไม่มีตัวตนต่อไป และที่สำคัญไม่ก่อความรู้ที่หลากหลายขึ้นมา และเราก็จะได้รับรู้แต่ ?เรื่องเล่า? ที่คนในอำนาจศูนย์กลางผลิตขึ้นมาเท่านั้น


และเมื่อคนชายขอบ ?เล่าเรื่อง? ของตนเองขึ้นมา ?เรื่อง? (stories) จึงแตกต่างจากประวัติศาสตร์ กล่าวคือประวัติศาสตร์คนเขียนคือ ?นักประวัติศาสตร์? เรื่องเล่าเล่าโดย ?ปัจเจก? ที่เป็นคนเล็กคนน้อย ใช้ ?ประสบการณ์? เป็นวัตถุดิบในการเล่า ไม่ใช่ ?หลักฐาน? อย่างนักประวัติศาสตร์ ซึ่งการนำ ?ประสบการณ์? ในชีวิตประจำวันของคนชายขอบมาเล่าก็ไม่ได้ทำให้ความน่าเชื่อถือของเรื่องเล่าลดน้อยลง เพราะเป็นประสบการณ์ตรงที่คนชายขอบผ่านและได้รับมาเอง ดังนั้นหากพิจารณาอย่างจริงจัง ?เรื่องเล่า? ของคนชายขอบก็น่าจะเป็นการรวบรวมจิตสำนึกและการสร้างตัวของกลุ่มได้น่าเชื่อถือกว่านักวิชาการหรือนักประวัติศาสตร์ที่เป็นผู้นำประสบการณ์และหลักฐานจากคนอื่นมาเล่าเรื่อง ด้วยเหตุนี้เอง ระยะหลัง ?ประวัติศาสตร์? จึงถูกตั้งคำถามเพื่อเปิดพื้นที่ให้กับ ?เรื่องเล่า? อย่างอื่นขึ้นมาบ้าง


?เรื่องเล่า? จึงมาก่อนเพื่อสร้าง ?อัตลักษณ์? หรือตัวตนของคนชายขอบขึ้นมา เพื่อปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใด (Take action) กับโครงสร้างอำนาจกระแสหลัก เป็นการพูดขึ้นมาเพื่อต้องการความเปลี่ยนแปลงบางอย่าง และเมื่อเรื่องเล่าถูกปรับเปลี่ยนไปอัตลักษณ์ของคนเล่าย่อมไม่คงที่ แต่จะเปลี่ยนไปตามกระแสและสถานการณ์ของคนเล่าด้วย ซึ่ง ?จิตสำนึก? จะเกิดขึ้นในขั้นตอนกระบวนการสร้าง ?ตัวตน? นี่เอง ทั้งนี้ความสัมพันธ์เรื่องเล่าของคนชายขอบแม้จะเชื่อมโยงกับอดีตแต่ความสำคัญจะอยู่ที่ ?ปัจจุบัน?


ทั้งนี้ เราต้องไม่ติด ?กับดัก? ของอำนาจศูนย์กลาง เพราะเรื่องเล่ามีมากจากหลากหลายกลุ่ม หากเราหยิบ ?เรื่องเล่า? ในฐานะ ?ภาพเสนอ? ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งขึ้นมาและบอกว่าเป็นความจริง ?หนึ่งเดียว? เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์ ก็เท่ากับเรายอมรับความเป็นขั้วตรงข้ามกับ ?ความจริง? ของประวัติศาสตร์ และทำให้เรื่องเล่าของกลุ่มอื่นๆ อยู่ในสถานะที่เป็นรอง หรือ ?เป็นอื่น? อันเป็นการผลิตซ้ำอำนาจส่วนกลางอีกรูปแบบหนึ่ง


ผู้เขียน ตระหนักถึงความรู้ของคนชายขอบที่ถูกทำให้มองไม่เห็น จึงคิดนำมาปรับใช้และพัฒนากับ ?งาน? ของตนเอง เพราะให้ความสนใจเรื่อง ?ผู้หญิงกับครัว? เนื่องจากผู้เขียนเรียนในโรงเรียนสตรีล้วนมาโดยตลอด ถูกฝึกถูกสอนในวิชาคหกรรม วิชาโภชนาการ ความรู้ที่สถาบันสอนต่างจากความรู้ของแม่ และที่สำคัญแม่เป็นแม่ค้า แม่เอาคุณสมบัติของลูกผู้หญิงที่ดี คือการทำอาหาร ?เสน่ห์ปลายจวัก ผัวรักผัวหลง? ออกมาสร้างรายได้ของครอบครัว แม่สอนการทำครัวอีกรูปแบบหนึ่งที่ต่างจากสถาบัน ความรู้และประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของแม่เป็นความรู้ที่สร้างตัวตนของ ?แม่ค้า? และสร้างสำนึกร่วมผ่าน ?ลูกสาวแม่ค้า? วันนี้ฉันลาออกจากการเป็นนักข่าว เพื่อมาช่วยแม่ขายข้าวแกง และร่วมสร้าง ?เรื่องเล่า? ของแม่ค้าขึ้นมา



นี่คิอเรื่องเล่ากับการสร้างอัตลักษณ์ของคนชายขอบ