Skip to main content

ในแต่ละวันเราต้องสื่อสารกับคนอื่นตลอดเวลา จนละเลยที่จะสื่อสาร หรือ "ตั้งคำถาม" กับตัวเอง ดังนั้นการบันทึกชีวิตประจำวัน หรือการเขียนไดอารี่ เป็นทางหนึ่งที่ได้สื่อสาร ทบทวน และให้ "ความหมาย" กับตัวเอง "เรื่องราว" ในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะของผู้หญิงจึงสำคัญต่อการเขียนประวัติศาสตร์ของคนธรรมดาสามัญ

ในแต่ละวันเราต้องสื่อสารกับคนอื่นตลอดเวลาจนละเลยที่จะสื่อสาร หรือ "ตั้งคำถาม" กับตัวเอง ดังนั้นการบันทึกชีวิตประจำวัน หรือการเขียนไดอารี่ เป็นทางหนึ่งที่ได้สื่อสาร ทบทวน และให้ "ความหมาย" กับตัวเอง

เช่น เริ่มต้นถามว่า ชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่ตื่นขึ้นมาอาบน้ำแปรงฟัน กินข้าว ดื่มน้ำ จะดูหนัง ฟังเพลง กิจกรรมในชีวิตประจำเหล่านี้เรากำหนดหรือใครกำหนด พิจารณาให้ลึกจะรู้ว่า การขับเคลื่อนชีวิตประจำวันของเราที่ดูเหมือนเป็นธรรมชาติ คิดว่าเราเองเป็นผู้กำหนดขึ้นมาเองนั้น เช่น การดื่มน้ำ ทำไมบางคนดื่มจากแก้ว บางคนดื่มโดยใช้หลอดดูด บางคนก้มดื่มจากแหล่งน้ำ หรือการกินผลไม้ เรารู้ได้อย่างไรว่า ผลไม้ชนิดไหนกินได้ และกินอย่างไร ทำไมบางผลกัดกินได้ บางผลต้องปอกเปลือก ผลไม้ชนิดเดียวกันอยู่ที่บ้านกินแบบหนึ่ง เมื่ออยู่นอกบ้านก็กินอีกแบบหนึ่ง วันนั้น เวลานี้ เราทำสิ่งนี้ แต่วันนี้เวลาเดียวกันเราไม่ทำอย่างนั้น ฯลฯ ความแตกต่างเหล่านี้เกิดจากอะไร เกิดจากสังคมสร้างขึ้นมามิใช่หรือ "เรื่องราว" ในชีวิตประจำวันจึงสำคัญต่อการเขียนประวัติศาสตร์ เพราะเป็นด้านซ้ำซากของมนุษย์ที่ถูกสังคมนั้นหล่อหลอมขึ้นมา ชีวิตประจำวันอยู่ทุกที่ทุกแห่งหน แต่คนเรามักมองไม่เห็น ทั้งๆ ที่กิจกรรมในชีวิตประจำวันดำรงอยู่ตลอดเวลา โดยมีเวลาและพื้นที่เป็นตัวกำหนดกิจกรรมนั้น และบางครั้งชีวิตประจำวันก็เป็นเวทีของ "ปัจเจก" (agency) ต่อสู้กับโครงสร้างอำนาจในสังคม เหมือนกับการเล่นฟุตบอลที่มีกฏ กติกา ขอบเขตสนามที่ผู้เล่นต้องเล่นตาม แต่ในสนามนักบอลก็มีเทคนิค วิธีการที่เป็น "ทักษะส่วนตัว" ในการหาชัยชนะให้กับตนเอง หรือกรณีการแต่งเครื่องแบบของนักศึกษา ตามระเบียบของมหาวิทยาลัยกำหนดไว้อย่าง และทุกวันนี้เราเห็นนักศึกษาแต่งกายอย่างไร เหล่านี้เป็นเรื่องของการต่อต้าน/ต่อรองกับสังคม (struggle) และต่อต้านโครงสร้างอำนาจ (power Block) เป็น "การเมืองในชีวิตประจำวัน" และ "ชัยชนะเล็กๆ ของผู้ที่อ่อนแอกว่า" โดยเรามักไม่สังเกตเห็นความขัดแย้งที่ซ่อนอยู่และมีมากกว่าความปรองดอง ความสมานฉันท์กับโครงสร้างอำนาจ

เมื่อพิจารณาระหว่าง "ชีวิตประจำวัน" ในฐานะประวัติศาสตร์ของผู้หญิงกับ "ประวัติศาสตร์กระแสหลัก" (History) จะเห็นความแตกต่างทั้งสองอย่างเด่นชัด ประวัติศาสตร์กระแสหลัก เป็นเรื่องเล่าที่นักประวัติศาสตร์ นักวิชาการ รวมทั้งรัฐ ซึ่งล้วนแต่เป็น "คนอื่น" และเป็นผู้ชาย เป็นผู้บันทึก "เรื่องเล่า" ซ้ำยังเลือกบันทึกเหตุการณ์ของ "ผู้อื่น" เพื่อบอกว่าเป็น "ความจริง" ขณะที่การบันทึกชีวิตประจำวัน ผู้หญิงจะบันทึกเอง และบันทึกเรื่องของตนเองเพื่อต่อรองกับ "เรื่องหลัก" ที่ผู้อื่นบันทึก ทั้งนี้น่าสังเกตเห็นว่าเมื่อผู้หญิงบันทึกชีวิตประจำวัน นักวิชาการมักไม่ตั้งคำถาม "ความจริง" เป็นอย่างไร แต่กลับส่องดูและตีความเอากับ "ความหมาย" ในกิจกรรมนั้นจากผู้หญิง

อ่านต่อ