Skip to main content
เมื่อความพิการเป็นสิ่งบางอย่างที่คนในสังคมนำไปใส่ให้กับคนที่ประสบกับความสูญเสียทางกายภาพ-จิต คนที่มีความพิการมักต้องเผชิญกับรูปแบบหนึ่งของการปฏิบัติที่เป็นอคติของสังคม ทั้งที่ ?ความพิการ? มิใช่เป็นปัญหาส่วนบุคคล แนวคิดและโครงการดำรงชีวิตอิสระของคนพิการ(Independent Living หรือ ไอแอล) จึงเกิดขึ้นจากลุ่มคนพิการที่มีความพิการรุนแรงในสหรัฐอเมริกา ประเทศแถบยุโรป และขยายแนวคิดมาถึงญี่ปุ่น ด้วยต้องการขยายทางเลือกของชีวิต ที่สามารถกำหนดชีวิตตนเอง ช่วยเหลือตนเองได้ และยังเสริมพลังคนพิการด้วยกัน โดยปักธงที่จะรวมอยู่และเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในสังคม ไม่ว่าการนั้นจะได้รับการดูแลอย่างดีหรือในทางตรงข้าม...เสี่ยงต่อการถูกเลือกปฏิบัติจากสังคมก็ตาม แต่คนพิการได้เลือกแล้วในการกำหนดชีวิตของตนเอง ไผ่ หนุ่มน้อย ผิวคล้ำ ฟันเหยินและห่างเล็กน้อย ปากกว้าง หน้าตาออกทางขี้เหล่เล็กน้อย ผอม ข้อมือหงิกงอ ท่อนล่างตั้งแต่ใต้เอวลงมา ไม่สามารถเคลื่อนไหวเดินเหินไปไหนได้ มีแต่ท่อนบนที่ขยับได้และบอกว่าเป็นสิ่งมีชีวิต ถ้านั่งรถเข็นสองมือจะหมุนล้อพาไปไหนๆ ได้เอง ดูร่าเริง สมวัย


ปีนี้ ไผ่อายุ 18 แล้ว เป็นสิบแปดที่มีชีวิตและเติบโตบนรถเข็น ด้วยโรคสมองพิการแต่กำเนิด หรือ C.P. (Cerebral Palsy) หลายคนเชื่อว่าเป็นโรคของ ?กรรม? ที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งก่อนการคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด ยากแก่การตรวจพบ เป็นกลุ่มอาการที่ทำให้สมองส่วนของการควบคุมการเคลื่อนไหวผิดปกติ จึงทำให้ร่างกายเป็นอัมพาต แข็งเกร็ง กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนกำลังและแข็งตึง บางคนอาจหดรั้งหรือติดงอ แล้วหากใครมีอาการรุนแรง จะมีอาการสั่นติดต่อกันทั้งตัว สูญเสียการทรงตัวได้ โชคดี ไผ่ไม่ได้เป็นมากขนาดนั้น...


ด้วยอาการอัมพาตที่มีแต่กำเนิดกลายเป็น ?ความพิการ? ที่ขังครอบร่างและคุณค่าของเขา ตลอดชีวิตต้องนั่งรถเข็น.... ถึงจะกินข้าวได้เอง แม้จะมีหกตกเลอะเทอะบ้าง ดื่มน้ำได้เอง ปัสสาวะ อุจจาระได้เอง แต่ก็ต้องมีคนคอยช่วยพยุงบ้างเป็นบางครั้ง พูดไม่ชัด และติดอ่างเล็กน้อย นิสัยพูดเก่ง ไม่กลัวใคร


สำหรับพวกเรา..คณะนักวิจัย ไผ่เป็น ?นักเรียกร้องสิทธิ? ตัวเอ้ทีเดียว


ทุกวันนี้ เขาอาศัยอยู่กับพ่อและแม่เลี้ยง ในบ้านเดี่ยวชั้นเดียว ไม่มีรั้ว นอนที่ห้องเล็กๆ ที่ต่อเติมเพิ่มออกมาจากตัวบ้าน พ่อและแม่เลี้ยงขายอาหารอีสานรถเข็นขาย ตกตอนเย็นจะเข็นมาขายหน้าปากซอยของบ้านพัก รายได้ของพ่อพอใช้ไปวันๆ ขณะที่ไผ่-ผู้พิการมีรายได้ค่าขนมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามสิทธิที่รัฐจ่ายให้ เดือนละ 500 บาท นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการรับเป็นผู้ช่วยเหลือผู้พิการอื่นแต่ก็ไม่มากนัก ในโครงการดำรงอิสระ ของชมรมคนพิการจังหวัดนครปฐม มากกว่านั้น ชายหนุ่มยังมุ่งมั่นเรียนหนังสือกับเพื่อนมากหน้า ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน ห้วยจรเข้


ชีวิตของเขาไม่ใช่เรื่อง?ที่รู้แล้วอยากฟังซ้ำอีก แต่ก็ปัดทิ้งออกจากใจไม่ได้......


อ่านต่อใน คุณชอบตัดสินใจแทนคนพิการหรือเปล่า?